หน้านี้จะอธิบายในส่วนต่างๆ ของหน้าเพิ่ม / แก้ไข ข้อมูลสินค้า โดยมีส่วนต่างๆ ดังนี้

การเพิ่มสินค้าใหม่

โดยเข้า สินค้าคงคลัง > รายการสินค้า > กดปุ่ม “เพิ่มข้อมูล” Add 1 ผู้ใช้จะพบ หน้าต่างดังภาพ ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 แถบ คือ “ข้อมูลทั่วไป” และ “สต๊อก” ซึ่งแต่ละแถบจะมีช่องให้กรอกข้อมูลสินค้าดังต่อไปนี้

add2

แถบข้อมูลทั่วไป

ชื่อสินค้า – ระบุข้อมูลชื่อสินค้าที่จะใช้ในระบบ (จำเป็นต้องระบุ)

รหัสสินค้า – ระบุรหัสสินค้า โดยไว้ใช้กับส่วนต่างๆ ในระบบ เช่น การระบุสินค้า, ค้นหาสินค้า,บาร์โค้ด แนะนำว่าไม่ควรยาวเกิน 10 ตัวอักษร และ ไม่มีการเว้นวรรค (จำเป็นต้องระบุ)

รหัสบาร์โค้ด – ใช้กับบาร์โค้ดบนสินค้าในการสแกน ซึ่งในบางกิจการอาจต้องการให้รหัสบาร์โค้ดกับรหัสสินค้าต่างกัน

หมวดหมู่ – ใช้ส าหรับแยกหมวดหมู่ของสินค้า ซึ่งจะช่วยในการจำแนกและค้นหาประเภทสินค้า ทั้งในแอพและในรายงานต่างๆ ให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะเชื่อมกับข้อมูลหมวดหมู่ในระบบ โดยการจัดการหมวดหมู่ ให้เข้าไปที่ สินค้าคงคลัง > หมวดหมู่สินค้า (จำเป็นต้องระบุ)

ผู้จัดจำหน่าย – ใช้สำหรับระบุข้อมูลว่าสินค้านี้มาจากผู้จัดจำหน่ายรายใดให้ได้ทราบ โดยจะเชื่อมข้อมูลผู้จัดจำหน่ายที่มีการตั้งไว้ในระบบ ซึ่งสามารถเข้าไปจัดการหน้าผู้จัดจำหน่ายได้ที่ ข้อมูลติดต่อ > ผู้จัดจำหน่าย

ราคาทุน – ใช้ระบุราคาทุนของสินค้า ซึ่งจะมีผลต่อการรายงานการคำนวณต้นทุน และผลกำไรต่างๆในระบบทั้งหมด โดยราคาทุนที่ใช้ในระบบเป็นประเภทราคาทุนถัวเฉลี่ย ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตโนมัติเมื่อมีการรับสินค้าเข้ามาใหม่ หรือมีการเข้ามาแก้ไขโดยตรง (จำเป็นต้องระบุ)

ราคาขายสินค้า – ใช้ระบุราคาที่ใช้ในการขาย ซึ่งราคาขายที่จะระบุนั้น คือราคาขายสุทธิ รวมทุกอย่างแล้ว (เช่น หากมีภาษีขายด้วย ราคาที่ระบุคือรวมภาษีแล้ว) และราคาขายในช่องนี้ (ที่มีเครื่องหมาย * ระบุ) เป็นราคาขายที่ใช้เป็นค่ามาตรฐานในระบบ หากไม่ทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ใน
ตอนที่ทำการขาย (จำเป็นต้องระบุ)

กลุ่มราคาสินค้าที่ 2,3,4,5 – ในกรณีที่มีการตั้งกลุ่มราคาสินค้า ให้ใส่ราคาขายที่ต้องการในแต่ละกลุ่มได้ที่ช่องนี้ (ชื่อช่องจะเปลี่ยนไปตามชื่อกลุ่มราคาสินค้าที่ตั้งเอาไว้ โดยสามารถตั้งค่าได้ที่หน้า ตั้งค่าระบบ > ตั้งค่าพื้นฐาน)

ภาษีขาย – ใช้ในการคำนวณภาษีกับสินค้าที่ขาย โดยภาษีที่ระบุไว้เป็นภาษีประเภท คำนวณรวมกับราคาสินค้าเรียบร้อยแล้ว หรือ Including vat โดยมูลค่าภาษีที่ระบุไว้ จะถูกคำนวณลงในใบเสร็จและรายงานการขายอัตโนมัติ (กรณีไม่ต้องการให้ระบุและคิดภาษี จำเป็นต้องลบออก)

รูปสินค้า – หากต้องการให้เครื่อง POS มีโชว์รูปสินค้า สามารถนำรูปใส่ในระบบได้โดยกดปุ่มนี้เพื่ออัพโหลดไฟล์รูปภาพ

ช่องติ๊ก แสดงในหน้าแรกที่เครื่อง POS – แนะนำติ๊กเฉพาะกรณีเป็นสินค้าที่ขายบ่อยมาก จะปรากฏสินค้าในหน้าแรกของเครื่อง POS ( App POS2U )

ช่องติ๊ก แสดงในหมวดหมู่ที่เครื่อง POS – แนะนำติ๊กเฉพาะกรณีเป็นสินค้าที่ขายบ่อย จะปรากฏสินค้าในแถบหมวดหมู่ของเครื่อง POS ( App POS2U )

รายละเอียด – ไว้สำหรับใส่ข้อมูลเพิ่มเติมในสินค้านั้นๆ

add3

แถบสต๊อก

ประเภทสินค้า – ใช้ในการระบุว่าสินค้าตัวนี้ต้องมีการตัดสต๊อกหรือไม่ โดย สินค้ามีสต๊อก ใช้กับสินค้าอุปโภค/บริโภค, สินค้าทั่วไปที่จับต้องได้ และมีการตัดสต๊อก ส่วน สินค้าไม่มีสต๊อก เช่น การบริการต่างๆ, การขนส่ง ฯลฯ ซึ่งไม่มีการตัดสต๊อก

หน่วยสินค้า – ให้เลือกหน่วยสินค้าเป็นชนิดใด
• ชิ้น คือ การขายที่เป็นจำนวนเต็ม เช่น ชิ้น, อัน, ก้อน ฯลฯ ไม่มีการใช้หน่วยจุดทศนิยม
• น้ำหนัก คือ การขายที่เป็นจำนวนหลักทศนิยมได้ เช่น สินค้าประเภทที่มีการชั่งน้ำหนัก

ประเภทสต๊อก – เป็นการเลือกประเภทรูปแบบการตัดสต๊อกของสินค้า มี 3 รูปแบบคือ
• พื้นฐาน เป็นรูปแบบปกติ เมื่อมีการขายก็จะตัดสต๊อกตามจำนวนที่ขาย
• ส่วนประกอบ เมื่อขายจะไปตัดสต๊อกของสินค้าตัวอื่นที่ระบุไว้ ใช้กับสินค้าที่ประกอบจากหลายๆส่วน, สินค้าขายเป็นแพ็คเก็จ, สินค้าจัดชุดโปรโมชั่นเป็นต้น (อ่านการใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่มเติมได้ที่ คู่มือ นี้)
• Serial/IMEI ใช้กับสินค้าที่มีหมายเลขเฉพาะของสินค้าแต่ละตัวไม่ซ ้ากัน เช่น อุปกรณ์ต่างๆ, มือถือ เป็นต้น ในการตัดสต๊อก

จำนวนเตือนสินค้าใกล้หมด – เป็นการตั้งแจ้งเตือน เมื่อสินค้าในสต๊อกมีจำนวนที่กำหนดไว้ จะมีการเตือนให้ทราบว่าสินค้าในสต๊อกกำลังจะหมด

 

การแก้ไขสินค้า

โดยไปที่ สินค้าคงคลัง > รายการสินค้า > เลือกสินค้าที่ต้องการแก้ไข > กดปุ่มแก้ไขสินค้า ซึ่งกรณีมีหลายสาขา หน้าต่างจะมีส่วนช่องติ๊กสี่เหลี่ยม “ปรับทุกสาขา” ดังรูป ซึ่งหากมีการแก้ไขในช่องนั้นๆ แล้วกดติ๊กไว้ จะทำให้ทุกสาขาเปลี่ยนแปลงตามทั้งหมดในทีเดียว

fix1

หากยังพบปัญหาการใช้งานกรุณาติดต่อที่ Line : @pos2u